เมนู

มุสาวาทวรรค โอมลวาทสิกขาบทที่ 2


พึงทราบวินิจฉัยในสิกขาบทที่ 2 ดังต่อไปนี้:-

[แก้อรรถเรื่องภิกษุฉัพพัคคีย์และโคนันทิวิสาล]


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โอมสนฺติ คือ ย่อมกล่าวเสียดแทง.
บทว่า ขุํสนฺติ คือ ย่อมด่า.
บทว่า วมฺเภนฺติ คือ ย่อมขู่กรรโชก.
ด้วยบทว่า ภูตปุพฺพํ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนำเรื่องนี้มาแสดง
เพื่อทรงตำหนิการกล่าวเสียดแทง.
คำว่า นนฺทิ ในคำว่า นนฺทิวิสาโล นาม (นี้) เป็นชื่อของโคถึก
นั้น. ก็โคถึกนั้น มีเขายาวใหญ่ เพราะเหตุนั้น เจ้าของจึงตั้งชื่อว่า นันทิวิสาล,
โดยสมัยนั้น พระโพธิสัตว์เป็นโคถึกชื่อนันทิวิสาล. พราหมณ์เลี้ยงดูโคถึกนั้น
อย่างดีเหลือเกิน ด้วยอาหารมียาคูและข้าวสวยเป็นต้น . ครั้งนั้น โคนันทิวิสาล
นั้น เมื่อจะอนุเคราะห์พราหมณ์ จึงกล่าวคำว่า เชิญท่านไปเถิด ดังนี้เป็นต้น .
สองบทว่า ตตฺเถวอฏฺฐาสิ มีความว่า แม้ในกาลแห่งอเหตุกปฏิสนธิ
โคนันทิวิสาลย่อมรู้จักคำกล่าวเสียดแทงของผู้อื่นได้ โดยเป็นคำไม่เป็นที่พอใจ;
เพราะฉะนั้น มันใคร่เพื่อแสดงโทษแก่พราหมณ์ จึงได้ยืนนิ่งอยู่.
หลายบทว่า สกฏสตํ อติพทฺธํ ปวฏฺเฏสิ มีความว่า พระโพธิสัตว์
เมื่อจะลากเกวียน 100 เล่มที่จอดไว้ตามลำดับสอดไม้ไว้ภายใต้ กระทำให้
ต่อเนื่องกันอันบรรทุกเต็มด้วยถั่วเขียว ถั่วเหลือง และทรายเป็นต้น. เกวียน
100 เล่ม เป็นของอันตนจะต้องลากไปอีก ในเมื่อกำถึงส่วนของกำแรกตั้งอยู่

ก่อนแล้ว แม้ก็จริง ถึงกระนั้น (พระโพธิสัตว์) ก็ได้ลากไปตลอดที่ประมาณ
ชั่ว 100 เล่มเกวียน เพื่อให้เกวียนเล่มหลังจอดในที่เกวียนเล่มหน้าจอดอยู่.
จริงอยู่ พระโพธิสัตว์ทั้งหลายย่อมไม่มีการกระทำที่ย่อหย่อน.
บาทคาถาว่า เตน จตฺตมโน อหุ มีความว่า โคนันทิวิสาลนั้น
มีใจเบิกบาน เพราะการได้ทรัพย์นั้นของพราหมณ์ และเพราะการงานของตน.
ก็ในคำว่า อกฺโกเสนปิ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์จะจำแนก
ไว้ข้างหน้าว่า คำด่ามี 2 อย่าง คือ คำด่าที่เลว 1 คำด่าที่ดี 1; เพราะฉะนั้น
จึงไม่ตรัสเหมือนอย่างที่ตรัสไว้ในก่อนว่า ย่อมด่าด้วยคำที่เลวบ้าง ตรัสไว้
อย่างนี้ว่า อกฺโกเสน (โดยคำสบประมาท) ดังนี้.

[แก้อรรถโอมสวาทเป็นต้น ]


ชาติแห่งคนการช่างถากไม้ชื่อว่า เวณชาติ.
อาจารย์บางพวกกล่าวว่า เวฬุการชาติ ดังนี้ก็มี.
ชาติแห่งพรานเนื้อเป็นต้น ชื่อว่า เนสาทชาติ.
ชาติแห่งคนการช่างทำหนัง ชื่อว่า รถการชาติ (ชาติแห่งคนทำรถ).
ชาติแห่งคนเทดอกไม้ ชื่อว่า ปุกฺกุสชาติ.
คำว่า อวกณฺณกา เป็นชื่อของพวกทาส; เพราะฉะนั้น จึงเป็น
คำเลว.
บทว่า โอญาตํ แปลว่า ที่เขาเย้ยหยัน. ภิกษุบางพวกสวดว่า
อุญฺญาตํ ดังนี้ก็มี.
บทว่า อวุญฺญาตํ แปลว่า ที่เขาเหยียดหยาม.
บทว่า หีฬิตํ แปลว่า ที่เขาเกลียดชัง.
บทว่า ปริภูตํ แปลว่า ที่เขาดูหมิ่นว่า จะมีประโยชน์อะไรด้วยคนนี้.
บทว่า อจิตีกตํ แปลว่า ที่เขาไม่กระทำความเคารพยกย่อง.